ไทยและสปป.ลาว มีหลายกลไกเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง กลไกที่ดูแลภาพรวมความสัมพันธ์ทั้งหมด ได้แก่ คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-ลาว (Joint Commission : JC) ซึ่ง มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม ประเด็นหารือในกรอบความร่วมมือนี้ ครอบคลุมทุกมิติ เช่น การรักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดน การเปิดจุดผ่านแดน การเชื่อมโยงเส้นทาง คมนาคม แรงงาน เป็นต้น
มีกลไกในแต่ละสาขา ดังนี้
1. การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน
ไทยและลาวมีชายแดน 1,810 กิโลเมตร มีพรมแดนทั้งทางบกและทางน้ำ (แม่น้ำโขงและแม่น้ำเหือง) มี คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (Joint Boundary Commission:JBC) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ของทั้งฝ่ายเป็นประธานร่วม เป็นกลไกในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน ปัจจุบันได้จัดทำหลักเขตแดนทางบก เสร็จแล้วมากกว่าร้อยละ 95
2. การรักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดน
โดยที่ไทยและลาวมีชายแดนถึง 1,810 กิโลเมตร การรักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดนเพื่อให้ ประชาชนของทั้งสองฝ่ายดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุขจึงเป็นเรื่องสำคัญ หน่วยงานความมั่นคงที่มีบทบาทสำคัญใน เรื่องนี้ คือ กระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย กลไกความร่วมมือระหว่างกระทรวงกลาโหมและกระทรวง ป้องกันประเทศ สปป.ลาว ได้แก่ คณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไปไทย-ลาว (General Border Committee:GBC) จัดตั้งเมื่อปี 2533 มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงป้องกันประเทศ สปป.ลาว เป็นประธานร่วม จัดประชุมครั้งแรกเมื่อปี 2534
ในปี 2536 คณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยฯ (GBC) ได้ตั้งคณะอนุกรรมการร่วมมือรักษา ความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไปไทย-ลาว (อนุ GBC) กำหนดประชุมปีละ 2 ครั้ง เพื่อติดตามการปฏิบัติงาน ภายในกรอบนโยบาย GBC และเสนอผลการดำเนินงานและข้อพิจารณาในเประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น ปัญหาคนเข้า เมืองผิดกฎหมาย ความร่วมมือระหว่างกองทัพ ความร่วมมือในการรักษาเส้นเขตแดน เป็นต้น
ในระดับท้องถิ่น จังหวัดและแขวงชายแดนไทยลาวมีการประชุมประสานงานของคณะกรรมการร่วมมือ รักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไปไทย-ลาว ระดับจังหวัด-แขวง มีผู้ว่าราชการจังหวัดกับเจ้าแขวงเป็น ประธานร่วม โดยมุ่งหวังให้สามารถแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นให้ยุติในระดับท้องถิ่น
ในส่วนของกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงป้องกันความสงบ สปป.ลาว กลไกประสานงานระดับสูงสุด คือ การประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัด-เจ้าแขวงชายแดนไทย-ลาว มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงป้องกันความสงบ สปป.ลาว เป็นประธานร่วม จังหวัดที่มีชายแดนติด สปป.ลาว มี 12 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ฝั่งลาวมี 9 แขวงที่ติดชายแดนไทย ได้แก่ บ่อแก้ว ไซยะบูลี เวียงจันทน์ นครหลวงเวียงจันทน์ บอลิคำไซ คำม่วน สะหวันนะเขต สาละวัน และจำปาสัก (แขวงเวียงจันทน์เป็นเขตการปกครองต่างหากจาก นครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นเมืองหลวง)
ประเด็นสำคัญที่หารือกัน ได้แก่ การเปิดจุดผ่านแดน การอำนวยความสะดวกในการข้ามแดน และการรักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดน
3. การดำเนินกิจกรรมในแม่น้ำโขงและแม่น้ำเหือง
แม่น้ำโขงและแม่น้ำเหืองเป็นแม่น้ำที่เป็นเขตแดนระหว่างประเทศ ในอดีตเคยมีปัญหาการลักลอบดูดทราย และปัญหาตลิ่งถูกกัดเซาะ ทั้งสองฝ่ายจึงได้ตั้งคณะกรรมการร่วมไทย-ลาวเพื่อดูแลการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตาม แม่น้ำโขงและแม่น้ำเหือง (Joint Committee for Management on Mekong River and Heung River:JCMH) เป็นกลไกป้องกันและแก้ไขปัญหา มีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานฝ่ายไทย
4. ยาเสพติด
สำนักงาน ป.ป.ส. และสำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติลาวเพื่อควบคุมและตรวจตรายาเสพติดมีการ ประชุมหารืออย่างสม่ำเสมอเพื่อร่วมกันแก้ปัญหายาเสพติด ทั้งในด้านการปราบปรามและด้านการบำบัดรักษาและ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม เช่น
นอกจากความร่วมมือในระดับทวิภาคี ไทยและ สปป.ลาว ต่างเป็นสมาชิกกรอบความร่วมมือ 7 ฝ่ายว่าด้วย ความร่วมมือในการควบคุมยาเสพติด ซึ่งประกอบด้วย ไทย สปป.ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า จีน และสำนักงาน ยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC)
ไทยเป็นประเทศคู่ค้าอันดับหนึ่งของ สปป.ลาว การค้ารวมในปี 2552 มีมูลค่าสูงถึง 71,989.38 ล้านบาท (2,105.34 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ลดลงจากปี 2551 ร้อยละ 12.02 โดยเป็นการส่งออกจากไทย 56,045.34 ล้านบาท (1,642.63 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) และเป็นการนำเข้าจาก สปป.ลาว 15,944.04 ล้านบาท (462.71 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ) อย่างไรก็ดี สัดส่วนการค้าไทย-ลาวเทียบกับการค้าระหว่างไทยกับต่างประเทศทั้งหมดเพิ่มจากร้อยละ 0.67 เป็นร้อยละ 0.74
สินค้าส่งออกไปลาวที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป, รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์, เครื่องจักรและส่วนประกอบของเครื่องจักร, ผ้าผืน, , เคมีภัณฑ์, ยานพาหนะอื่นๆ และส่วน ประกอบ, เครื่องดื่ม, เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว, ผลิตภัณฑ์พลาสติก, ปูนซิเมนต์, ผลิตภัณฑ์ยาง, ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม, ผลิตภัณฑ์เซรามิค, เม็ดพลาสติก
สินค้านำเข้าจากลาวที่สำคัญ ได้แก่ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์, เชื้อเพลิงอื่น ๆ, ไม้ซุง ไม้แปรรูป และผลิตภัณฑ์, พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช, ลวดและสายเคเบิล, ผัก ผลไม้ และของปรุงแต่งที่ทำจากผักผล ไม้, เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ, ถ่านหิน, รถยนต์นั่ง, เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ, เสื้อผ้าสำเร็จรูป, ผลิตภัณฑ์โลหะ, ยานพาหนะอื่น ๆ, เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์, รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก
กลไกความร่วมมือทางการค้าไทย-ลาว ได้แก่ คณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย-ลาว (Joint Trade Committee) ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการเยือนลาวของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อเดือนมกราคม 2540 และการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-ลาว ครั้งที่ 7 เมื่อเดือนกันยายน 2540 การประชุม คณะกรรมการร่วมทางการค้า ครั้งที่ 1 มีขึ้นระหว่างวันที่ 16-17 กรกฎาคม 2541 ที่กรุงเทพมหานคร มีรองนายก รัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและการท่องเที่ยวลาวเป็น ประธานร่วม ต่อมากลไกนี้ได้ปรับเปลี่ยนเป็นการประชุมแผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าไทย-ลาว มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไทย-ลาวเป็นประธานร่วม ได้จัดประชุมครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 24-28 ธันวาคม 2549 ณ นครหลวงเวียงจันทน์
ไทยมีนโยบายสนับสนุนการนำเข้าสินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้านรวมทั้งลาว โดยให้สิทธิพิเศษด้าน ภาษีศุลกากรในการนำเข้าสินค้าทั้งในกรอบอาเซียน และ ACMECS เพื่อช่วยพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจของ ประเทศเพื่อนบ้าน ในปี 2547 ไทยได้ให้สิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากรในการนำเข้าสินค้าเกษตรจากลาวทั้งในรูปของ การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ (ASEAN Integration System of Preferences – AISP) และยกเว้นอากรขาเข้าสินค้าในลักษณะ One Way Free Trade รวมจำนวน 187 รายการและเพิ่มเป็น 300 รายการในปี 2548-2549 และ 301 รายการ ในปี 2550-2552
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เริ่มมีผลบังคับใช้ สปป.ลาวสามารถส่งสินค้า ไปประเทศสมาชิกอาเซียนเดิมรวมทั้งไทยได้โดยไม่ต้องเสียภาษี (ยกเว้นสินค้าบางรายการ) ส่วน สปป.ลาว และ ประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่อื่นๆ คือ พม่า กัมพูชา และเวียดนามจะลดภาษีสินค้านำเข้าตามข้อกำหนดของเขตการ ค้าเสรีอาเซียนภายในปี 2558 นอกจากนี้ สปป.ลาว กำลังปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ เพื่อเตรียมสมัครเป็นสมาชิก องค์การการค้าโลก
1. อาเซียน
ลาวเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อเดือนกรกฎาคม 2540 ได้เป็นประธานคณะกรรมการประจำ อาเซียนเมื่อกรกฎาคม 2547 ไทยได้ให้ความร่วมมือแก่ลาวเพื่อให้สามารถมี ส่วนร่วมในอาเซียนได้อย่างทัดเทียม กับประเทศสมาชิกอาเซียนเก่า ทั้งในกรอบความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน (IAI) การให้สิทธิพิเศษทางภาษี ศุลกากร (AISP) และการให้ความร่วมมือแก่ลาวเตรียมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 เมื่อ เดือน พฤศจิกายน 2547 โดยได้จัดการดูงานให้เจ้าหน้าที่ลาว สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์สำหรับจัดตั้งศูนย์ข่าว มูลค่าประมาณ 11.80 ล้านบาท และให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อปรับปรุงสนามบินวัดไตมูลค่าประมาณ 320 ล้านบาท
2. ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy - ACMECS)
ลาวมีส่วนร่วมในกรอบ ACMECS อย่างแข็งขันโดยได้เป็น ประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อปรับ ACMECS Plan of Action และทบทวนโครงการความร่วมมือในสาขา ต่างๆ ระหว่างวันที่ 1-2 มิถุนายน 2549 ที่กรุงเทพฯ และเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ACMECS ระดับรัฐมนตรีที่เมือง ดอนโขง แขวงจำปาสัก ระหว่างวันที่ 3-4 กรกฎาคม 2549 โครงการความร่วมมือไทย-ลาวในกรอบ ACMECS ที่มีความคืบหน้า อาทิ โครงการ Contract Farming และการให้ทุกฝึกอบรม เป็นต้น
3. ความร่วมมือในกรอบสามเหลี่ยมมรกต
ลาวเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีความร่วมมือใน กรอบสามเหลี่ยมมรกต ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2546 ที่แขวงจำปาสัก ที่ประชุมได้เห็นชอบปฏิญญาว่าด้วย ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวซึ่งมีสาระสำคัญมุ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพื่อช่วย กระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก และได้กำหนดพื้นที่ความร่วมมือ คือ ภาคตะวันออกเฉียง เหนือของไทย ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชา และภาคใต้ของลาว ทั้งนี้ ไทยได้จัดสรรงบประมาณ 2 ล้านบาท ในโครงการปรับปรุงศูนย์ข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวสามเหลี่ยมมรกตที่แขวงจำปาสักด้วย
ไทยเป็นประเทศผู้ลงทุนสะสมอันดับหนึ่งใน สปป.ลาว ระหว่างปี 2543-2552 โดยมีทั้งหมด 207 โครงการ คิดเป็นมูลค่าสะสมประมาณ 1,581 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โครงการขนาดใหญ่ อยู่ในสาขาพลังงานและเหมืองแร่ มากที่สุด ประเทศที่มีมูลค่าการลงทุนสะสมใน สปป.ลาวลำดับรองลงมา ได้แก่ จีน เวียดนาม ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย มาเลเซีย สิงคโปร์ แคนาดา รัสเซีย อย่างไรก็ดี ตั้งแต่กลางปี 2553 จีนและเวียดนาม ได้กลายเป็นประเทศที่มีมูลค่าการลงทุนสะสมมากที่สุดอันดับที่ 1 และ 2 ส่วนไทยอยู่อันดับที่ 3
สาขาที่ลาวได้รับเงินลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุด คือ พลังงานไฟฟ้า มีทั้งหมด 44 โครงการ มูลค่า 3,940.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 35.5 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ สาขาเหมืองแร่ ภาคบริการ การเกษตร อุตสาหกรรม-หัตถกรรม การค้า การก่อสร้าง โรงแรมและร้านอาหาร
รัฐบาลลาวมีนโยบายให้ สปป.ลาวเป็น “แบตเตอรี่แห่งเอเชีย” หรือแหล่งพลังงานสำรองในอนุภูมิภาค โดย สปป.ลาวมีศักยภาพที่จะผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 23,000 เมกะวัตต์ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจของ สปป.ลาว ภายในปี 2563 จะสามารถดำเนินโครงการพลังงานไฟฟ้าขนาดใหญ่แล้วเสร็จจำนวน 29 โครงการ ผลิตไฟฟ้าได้ 8,657 เมกะวัตต์ สปป.ลาวมีเขื่อนที่ดำเนินการโดยเอกชน 2 แห่ง คือ เทินหินบุนที่บอลิคำไซ และห้วยเหาะที่ จำปาสัก-อัดตะปือ
รัฐบาลไทยและสปป.ลาวได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนาไฟฟ้าในลาวเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2536 ให้ความร่วมมือพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าใน สปป.ลาวเพื่อจำหน่ายให้แก่ไทยจำนวน 1,500 เมกะวัตต์ภายในปี 2543 และต่อมาได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับที่ 2 เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2539 และ ฉบับที่ 3 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2549 ขยายการรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาว เป็น 3,000 เมกะวัตต์ภายในปี 2549 และ 5,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2558 ตามลำดับ
เนื่องจาก สปป.ลาวมีศักยภาพที่จะพัฒนาโครงการพลังงานไฟฟ้าอีกหลายโครงการและ ตามแผนพัฒนา กำลังผลิตไฟฟ้าของไทยปี 2550 (Power Development Plan หรือ PDP 2007) ได้ประมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง ขึ้นในช่วงปี 2550-2554 ประมาณ 1,400 เมกะวัตต์ต่อปี และช่วงปี 2555-2559 ประมาณ 1,700 เมกะวัตต์ต่อปี รัฐบาลไทยจึงได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าใน สปป.ลาว ฉบับที่ 4 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2550 ที่นครหลวงเวียงจันทน์ ตกลงขยายการรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาวเพิ่มจาก 5,000 เมกะวัตต์เป็น 7,000 เมกะวัตต์ ภายในหรือหลังปี 2558
เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2547 ในการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย-ลาว อย่างไม่เป็นทางการที่แขวงจำปาสัก และจังหวัดอุบลราชธานี ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้คงมีความร่วมมือด้านพลังงานอย่างต่อเนื่อง โดยฝ่ายไทยจะยังคง ใช้หลักการจัดทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement – PPA) เป็นพื้นฐานในการรับซื้อไฟฟ้าจากลาวเพื่อ สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ลงทุน
ปัจจุบัน มีโครงการไฟฟ้าใน สปป.ลาว ที่ไทยลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้ว 5 โครงการ รวมกำลังการ ผลิต 2,101 เมกะวัตต์ แยกเป็นโครงการที่จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ กฟผ. แล้ว 2 โครงการ ได้แก่ โครงการเทิน-หินบุนและ โครงการห้วยเหาะ รวมกำลังการผลิต 346 เมกะวัตต์ และโครงการที่กำลังก่อสร้าง 3 โครงการ ได้แก่ โครงการน้ำเทิน 2 โครงการน้ำงึม 2 และโครงการเทิน-หินบุน (ส่วนขยาย) รวมกำลังการผลิต 1,755 เมกะวัตต์
โครงการที่ไทยลงนาม Tariff MOU [1] กับสปป.ลาวแล้วมี 5 โครงการ ได้แก่ โครงการน้ำเทิน 1 โครงการ น้ำงึม 3 โครงการน้ำเงี้ยบ โครงการหงสาลิกไนต์ และโครงการน้ำอู รวมกำลังการผลิต 3,739 เมกะวัตต์ อย่างไรก็ดี Tariff MOU ของทั้ง 5 โครงการได้หมดอายุหรือมีการยกเลิกแล้วเพื่อขอเจรจาปรับราคาซื้อขายไฟฟ้าใหม่ มีเพียง โครงการหงสาลิกไนต์ที่มีการลงนาม Tariff MOU ฉบับใหม่ ระหว่าง กฟผ. กับผู้พัฒนาโครงการเหมืองถ่านหิน หงสาลิกไนต์ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2552 ที่กรุงเทพฯ
นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่มีศักยภาพ ซึ่งผู้พัฒนาโครงการอยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมของโครงการ หรือกำลังให้รายละเอียดโครงการแก่ กฟผ. 6 โครงการ กำลังการผลิตประมาณ 2,335-2,830 เมกะวัตต์
โครงการ | ปริมาณรับซื้อ (MW) | กำหนดจ่ายไฟฟ้า |
---|---|---|
โครงการที่จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ กฟผ. แล้ว | 1,266 | |
1. เทิน-หินบุน | 220 | 31 มีนาคม 2541 |
2. ห้วยเหาะ[2] | 126 | 3 กันยายน 2542 |
3. น้ำเทิน 2 | 920 | มีนาคม 2553 |
โครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง | 1,755 | |
1. น้ำงึม 2 | 615 | มีนาคม 2554 |
2. เทิน-หินบุน (ส่วนขยาย) | 220 | มีนาคม 2555 |
[1] Tariff MOU เป็นบันทึกความเข้าใจในการรับซื้อไฟฟ้าซึ่งจะมีการระบุอัตราค่าฟ้าและเงื่อนไขที่สำคัญไว้สำหรับการจัดทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าหรือ PPA ต่อไป
[2] โครงการห้วยเหาะเป็นการร่วมทุนระหว่าง Hemaraj Land and Development จากไทย ถือหุ้นร้อยละ12.75 บริษัท Glow Energy ถือหุ้นร้อยละ 67.25 และการไฟฟ้าลาว (EDL) ถือหุ้นร้อยละ 20
ป้ายชื่อถนนมิตรภาพลาว-ไทยที่เมืองหลวงพระบาง
สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 3 นครพนม-คำม่วน
พิธีลงนามความตกลงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพ 4 เชียงของ – ห้วยซาย เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 ณ โรงแรมดุสิตไอส์แลนด์ จ.เชียงราย การก่อสร้างกำหนดเริ่มในเดือนมิถุนายน 2553 ระยะเวลาการก่อสร้าง ประมาณ 30 เดือน
พิธีลงนามสัญญาก่อสร้างโครงการพัฒนาเส้นทางหมายเลข 11 ระยะระหว่างสามแยกบ้านตาดทอง เมืองสีโคดตะบอง – บ้านน้ำสัง เมืองสังทอง นครหลวงเวียงจันทน์ ระยะทางรวมประมาณ 82 กิโลกเมตร
เพื่อตอบสนองต่อนโยบายด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ซึ่งเป็นปัญหาที่กระทบต่อความมั่นคงในระดับประเทศ ภูมิภาค และนานาชาติ สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ ดำเนินบทบาทด้านการประสาน งานระหว่างฝ่ายไทย คือ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กับฝ่ายลาว คือ กระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคม เพื่อจัดทำกิจกรรมและความร่วมมือในรูปแบบต่างๆ เช่น การศึกษาดูงาน การฝึกอบรม การ ประชุมระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมการทำงาน และการสร้างเครือข่ายระหว่างกัน ปัจจุบัน ทั้งสองฝ่ายมีความร่วมมือในระดับรัฐบาล และมีโครงการนำร่อง ระหว่างเจ้าหน้าที่ในระดับท้องถิ่น คือ ระหว่างจังหวัดมุกดาหารกับแขวงสะหวันนะเขตด้วย
เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของทั้งสองประเทศที่ประสงค์จะให้มีการจ้างแรงงานอย่าง เป็นระบบ และส่ง เสริมให้แรงงานเดินทางเข้า-ออกประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ มีภารกิจใน การตรวจลงตราประเภท “Non – LA” ให้กับบุคคล ที่ผ่านกระบวนการของกระทรวงแรงงานของทั้งสองประเทศ และมีภารกิจในการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านแรงงานไทย-ลาว และการประชุมระดับรัฐมนตรีแรงงานซึ่ง จัดขึ้นทุกปี เพื่อหารือเรื่องแนวทางความร่วมมือ อุปสรรคที่เกิดขึ้น และแนวทางแก้ไขปัญหา เพื่ออำนวยความ สะดวกและให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้แรงงานที่อยู่ในระบบดังกล่าว
เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ไทย-ลาว ในภาคประชาชน และเพื่อให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นไปอย่าง ทั่วถึง สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ จึงให้ความสำคัญกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเด็ก สตรี คนพิการ และ ผู้ด้อย โอกาส ในลักษณะต่างๆ อาทิ
การสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนและนักศึกษาที่เรียนดีแต่ขาดทุนทรัพย์ หรือ ที่ด้อยโอกาสผ่านทาง "มูลนิธิส่งเสริมการศึกษา" ของลาว
การมอบเครื่องช่วยพยุงขาที่ได้รับมาจากผู้ผลิตซึ่งเป็นภาคเอกชนไทยและบริจาคเงินเพื่อให้ "ศูนย์ฟื้นฟูคน พิการแห่งชาติลาว" นำไปสนับสนุนคนพิการที่ดูแลอยู่ในด้านการกีฬา การบำบัดและการรักษา
การจัดหาผู้เชี่ยวชาญมาฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นให้กับผู้แทนจากศูนย์กลางสหพันธ์ แม่หญิงลาวเพื่อนำไป ใช้ในการประกอบอาชีพเสริม และถ่ายทอดวิชาชีพที่ได้รับให้กับคนในชุมชนของตนต่อไป
การส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กพิการทางหูและสายตาของ "โรงเรียนโสตศึกษา" สังกัด ศูนย์ฟื้นฟูคน พิการแห่งชาติลาว ได้ไปฝึกอบรมวิชาชีพหลักสูตร 9 เดือน ที่ศูนย์ฟื้นฟูคนพิการจังหวัดหนองคาย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
มูลค่าการค้าไทย-ลาว | ไทยเป็นคู่ค้าลำดับที่ 1 ของลาว ขณะที่ลาวเป็นคู่ค้าลำดับที่ 20 ของไทย การค้าไทย – ลาว ช่วง ม.ค. – ธ.ค. 2558 มีมูลค่ารวม 5,708.14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.95 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2557 โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 2,031.04 ล้านดอลลาร์สหรัฐ | |
---|---|---|
สินค้าส่งออกของไทยที่สำคัญ | น้ำมันสำเร็จรูป รถยนต์และส่วนประกอบ เหล็ก เครื่องจักรกล อัญมณี เคมีภัณฑ์ สินค้าปศุสัตว์ เครื่องสำอาง วงจรพิมพ์ ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง | |
สินค้านำเข้าจากลาวที่สำคัญ | เชื้อเพลิง สินแร่โลหะ เครื่องจักรไฟฟ้า ผักและผลไม้ พืช ไม้ซุงและไม้แปรรูป ลวดและสายเคเบิล ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ กาแฟ ชา เครื่องเทศ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ | |
การลงทุนของไทยในลาว |
| |
การท่องเที่ยว | ช่วง ม.ค. – มิ.ย. 2558 มีคนลาวเดินทางมาไทย 561,318 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.71 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2557 (498,014 คน) ขณะที่คนไทยเดินทางไปลาว 540,400 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.13 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2557 (473,475 คน) | |
จำนวนคนไทยในลาว | ประมาณ 2,500 คน เป็นนักธุรกิจและคนไทยที่มีครอบครัวในลาวประมาณ 500 คน และเป็นแรงงานทำงานในโครงการเหมืองทอง/ทองแดง โครงการไฟฟ้า และโครงการอื่น ๆ ประมาณ 2,000 คน (ส่วนมากอยู่ในแขวงไซยะบุลี) | |
สำนักงานของไทยในลาว | สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ และสถานกงสุลใหญ่ ณ แขวงสะหวันนะเขต | |
สำนักงานของลาวในไทย | สถานเอกอัครราชทูตลาว ณ กรุงเทพฯ และสถานกงสุลใหญ่ลาว ณ จังหวัดขอนแก่น | |
ประเด็นคั่งค้าง | การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน การนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การอำนวยความสะดวกในการผ่านแดนและการใช้ถนน
|